Pap smear & Thinprep & HPV DNA ตรวจมะเร็งปากมดลูกแต่ละแบบต่างกันอย่างไร?
บทความสุขภาพ
19 ก.ค. 2568
ครั้ง
Pap smear & Thinprep & HPV DNA ตรวจมะเร็งปากมดลูกแต่ละแบบต่างกันอย่างไร?
มะเร็งปากมดลูก มีอัตราการเสียชีวิตสูงเป็นอันดับ 2 รองจากโรคมะเร็งเต้านม และยังมีอัตราการเสียชีวิตของผู้หญิงไทยถึง 7 คนต่อวัน โรคมะเร็งปากมดลูกเกิดจากเชื้อไวรัสที่ชื่อว่า HPV (Human Papilloma Virus; HPV) เป็นสาเหตุที่ทำให้เซลล์ปากมดลูกอักเสบเรื้อรังและเปลี่ยนเป็นเซลล์มะเร็งได้ ซึ่งไวรัสชนิดนี้สามารถติดต่อได้จากการมีเพศสัมพันธ์ และร้ายแรงกว่านั้นคือการที่เราได้รับเชื้อโดยที่เราไม่รู้ตัว หรือเมื่อรู้ก็อาจสายเกินไปที่จะรักษา ในปัจจุบันมีวิธีการตรวจคัดกรองหลายวิธี เรามาดูกันว่าจะสามารถตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกได้ด้วยวิธีไหนบ้าง



ใครบ้างที่ควรตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก?
สมาคมโรคมะเร็งแห่งประเทศสหรัฐอเมริกาได้แนะนำแนวทางผู้ที่ควรตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกดังนี้

มะเร็งปากมดลูก มีอัตราการเสียชีวิตสูงเป็นอันดับ 2 รองจากโรคมะเร็งเต้านม และยังมีอัตราการเสียชีวิตของผู้หญิงไทยถึง 7 คนต่อวัน โรคมะเร็งปากมดลูกเกิดจากเชื้อไวรัสที่ชื่อว่า HPV (Human Papilloma Virus; HPV) เป็นสาเหตุที่ทำให้เซลล์ปากมดลูกอักเสบเรื้อรังและเปลี่ยนเป็นเซลล์มะเร็งได้ ซึ่งไวรัสชนิดนี้สามารถติดต่อได้จากการมีเพศสัมพันธ์ และร้ายแรงกว่านั้นคือการที่เราได้รับเชื้อโดยที่เราไม่รู้ตัว หรือเมื่อรู้ก็อาจสายเกินไปที่จะรักษา ในปัจจุบันมีวิธีการตรวจคัดกรองหลายวิธี เรามาดูกันว่าจะสามารถตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกได้ด้วยวิธีไหนบ้าง
- วิธีที่ 1 ตรวจแปปเสมียร์ (Pap smear) : เป็นวิธีการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก โดยสูตินรีแพทย์จะใช้เครื่องมือลักษณะคล้ายไม้พาย เก็บเนื้อเยื่อบริเวณปากมดลูกก่อนนำส่งตรวจในห้องปฏิบัติการ เพื่อตรวจหาเซลล์ที่ผิดปกติหรือเซลล์ที่มีการเปลี่ยนแปลงซึ่งอาจทำให้เกิดมะเร็งได้ เป็นวิธีที่ใช้มาเป็น

- วิธีที่ 2 การตรวจตินแพร็พ แป๊บ เทสต์ (ThinPrep Pap Test) : พัฒนามาจากการตรวจวิธีแปปเสมียร์ มีประสิทธิภาพและแม่นยำมากขึ้น วิธีนี้สูตินรีแพทย์จะใช้แปรงขนาดเล็กเก็บเซลล์เยื่อบุผิวจากบริเวณปากมดลูก ถอดหัวของแปรงใส่ลงในน้ำยารักษาสภาพเซลล์ ซึ่งจะก่อให้ได้ตัวอย่างเซลล์ครบ จากนั้น นำเข้าเครื่องอัตโนมัติในการเตรียมเซลล์บนสไลด์แก้วจะมีการกำจัดสิ่งปนเปื้อนของมูก เซลล์เม็ดเลือด หรือลดการซ้อนทับกันของเซลล์ที่หนาแน่นเกินไป ทำให้เพิ่มโอกาสในการตรวจพบความผิดปกติที่มีอยู่ได้ดียิ่งขึ้น

- วิธีที่ 3 การตรวจหาเชื้อไวรัส HPV ด้วยวิธีการตรวจ DNA (HPV DNA) : เป็นการตรวจหาเซลล์มะเร็งปากมดลูก ร่วมกับตรวจดีเอ็นเอของเชื้อ HPV สายพันธุ์ที่ความสัมพันธ์กับการเป็นมะเร็งปากมดลูก ซึ่งสามารถตรวจพบความเสี่ยงของการเกิดมะเร็งปากมดลูกได้ดีกว่าการตรวจ Pap smear อย่างเดียว คือสามารถเจาะลึกว่ามีการติดเชื้อ HPV 16 และ HPV 18 หรือไม่ ซึ่งจะช่วยบอกความเสี่ยงต่อการมีรอยโรคแอบแฝงได้เป็นอย่างดี

ใครบ้างที่ควรตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก?
สมาคมโรคมะเร็งแห่งประเทศสหรัฐอเมริกาได้แนะนำแนวทางผู้ที่ควรตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกดังนี้
- สตรีทุกคนที่มีอายุตั้งแต่ 21 ปีขึ้นไป หรือ 3 ปีหลังจากมีเพศสัมพันธ์ครั้งแรก หลังจากนั้นทำการตรวจทุก 1-2 ปี
- สตรีที่แต่งงานเมื่ออายุน้อย
- สตรีที่คลอดบุตรหลายคน
- สตรีที่มีคู่นอนหลายคน เป็นกามโรคบ่อย ๆ
- มีประวัติในครอบครัว เช่น มีญาติผู้หญิงเป็นมะเร็งปากมดลูก

ติดตาม โซเชียลเน็ตเวิร์ก ของเรา