รู้หรือไม่? ไอแบบไหนอาการมะเร็งปอด

บทความสุขภาพ

10 ก.ค. 2568
ครั้ง

รู้หรือไม่? ไอแบบไหนอาการมะเร็งปอด
      มะเร็งปอด โรคร้ายที่พรากคนรักของคุณไปโดยไม่ทันตั้งตัว หนึ่งในมะเร็งที่พบบ่อยในคนไทยอันดับต้น โดยบุหรี่ ถือเป็นสาเหตุหลักของการเกิดมะเร็งปอด “ไอแบบไหน?” คำถามที่หลายคนอาจมองข้าม แต่รู้หรือไม่ว่าอาการไอบางประเภทอาจเป็นสัญญาณเตือนของโรคร้ายอย่าง มะเร็งปอด ได้ การไอเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นได้บ่อยในชีวิตประจำวัน แต่หากคุณมีอาการไอต่อเนื่อง ไอมีเสมหะปนเลือด หรือไอเรื้อรังโดยไม่ทราบสาเหตุ นั่นอาจไม่ใช่แค่หวัดธรรมดาอีกต่อไป บทความนี้จะพาคุณไปสำรวจว่า “ไอแบบไหน” ที่ควรเฝ้าระวัง และเมื่อไรที่ควรรีบพบแพทย์เพื่อการวินิจฉัยและรักษาอย่างทันท่วงที

สังเกตอาการ ไอแบบไหน ที่เสี่ยงเป็นมะเร็งปอด

  • ไอเรื้อรัง ไอนานติดต่อกันเกินกว่า 3 สัปดาห์ : เป็นอย่างน้อย หรือในบางรายอาจไอนานเป็นเดือน
  • ไอรุนแรงจนเหนื่อยหอบ : ไอแบบรุนแรง ไอจนเหนื่อยหอบ ไอและผอมลง หรือไอจนเสียงเปลี่ยน
  • ไอปนเลือด : บางทีไอมีเสมหะปนเลือด ซึ่งลักษณะการไอแบบนี้ จะต้องมีเลือดสดออกมาปนบ่อย ๆ
อาการเตือน “มะเร็งปอด” ไม่ได้มีแค่ ไอเรื้อรัง นะ!!
      นอกจากอาการทางปอด อย่าง อาการไอ ไอมีเสมหะ ไอเป็นเลือด เหนื่อย เจ็บหน้าอก ในบางรายอาจมีอาการทางมะเร็ง เช่น เพลีย เบื่ออาหาร น้ำหนักลด หรือหากเกิดการแพร่กระจายไปยังอวัยวะต่างๆ ก็อาจมีอาการอื่นร่วม เช่น
  • ไปที่ต่อมน้ำเหลือง : จะมีอาการต่อมน้ำเหลืองโต บางคราวอาจอุดหลอดเลือด.. ที่พบบ่อย คือ อุดหลอดเลือดดำที่คอทำให้เลือดคั่งบวมที่หน้า
  • ไปที่เยื่อหุ้มปอด : ทำให้มีน้ำในช่องเยื่อบุหุ้มปอด (Pleural Effusion)
  • ไปที่สมอง : ทำให้ปวดศีรษะ ชัก อัมพาต ซึม หมดสติ
  • ไปที่กระดูก : จะมีอาการปวดกระดูก กระดูกหัก
  • ไปที่ตับ : ก็จะมีอาการตัวเหลือง ตาเหลือง

      ในขณะเดียวกัน ผู้ป่วยบางรายอาจมีอาการที่เรียกว่า Paraneoplastic Syndrome ซึ่งเรายังไม่รู้สาเหตุที่ทำให้เกิดอาการพวกนี้แน่นอน เช่น มีไข้หนาวสั่น ปวดข้อและกล้ามเนื้อ ข้อบวม ระดับแคลเซียมในเลือดสูง และระดับฮอร์โมนบางตัวในเลือดสูง อาการเหล่านี้จะหายไปถ้าเราตัดก้อนมะเร็งออกไป และถ้าโรคกลับมาอาการก็จะกลับมาใหม่ได้

      อย่างที่ทราบกันดีว่า สาเหตุที่สำคัญของมะเร็งปอดคือการสูบบุหรี่ รวมถึงสารพิษและมลภาวะที่เพิ่มมากขึ้นในปัจจุบัน ดังนั้นการป้องกันมะเร็งปอดที่ดีที่สุดคือการงดสูบบุหรี่ หรือหลีกเลี่ยงการรับควันบุหรี่มือสอง และที่สำคัญอีกประการหนึ่งคือการตรวจคัดกรองสุขภาพปอดอย่างสม่ำเสมอเป็นประจำทุกปี และการตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์แบบ low-dose CT lung scan ในคนที่มีความเสี่ยงของโรคมะเร็งปอด จะช่วยให้สามารถตรวจพบและรักษามะเร็งได้ตั้งแต่ระยะแรกเริ่ม ทำให้ลดอัตราการเสียชีวิตและทำไห้ผู้ป่วยมีโอกาสหายจากโรคมะเร็งปอดได้
รู้หรือไม่ไอแบบไหนอาการมะเร็งปอด.png

ติดตาม โซเชียลเน็ตเวิร์ก ของเรา

iConsFacebook.png iConsInstagram.png iConsLine.png iConsTwitter.png iConsYouTube.png iConsTikTok.png