ไขข้อสงสัย! การแพ้ "ยาสลบ"

บทความสุขภาพ

25 ก.ค. 2566
ครั้ง

ไขข้อสงสัย! การแพ้ "ยาสลบ"

      หลาย ๆ คน อาจจะเคยเห็นข่าวการเสียชีวิตจากการได้รับ ยาสลบ จนทำให้เกิดความรู้สึกกลัวในการทำศัลยกรรมและการดมยาหรืออาจจะกลัวการผ่าตัดไปเลย แต่ในความเป็นจริงสาเหตุส่วนใหญ่ เกิดจากการที่ไม่มีการตรวจสภาพร่างกายและตรวจความพร้อมของคนไข้ รวมถึงคนไข้มีอาการอื่น ๆ ร่วมด้วยเช่น มีการเสียเลือดมาก หรือมีโรคประจำตัวร้ายแรง 

2.png

 

สิ่งที่ควร แจ้งแพทย์ ก่อนทำการผ่าตัด 

  • เคยมีประวัติแพ้ยาสลบ หรือ มีประวัติคนในครอบครัวเคยแพ้ยาสลบหรือไม่ ประวัติการดมยาสลบในอดีต
  • ตรวจร่างกายและยื่นใบรับรองแพทย์ให้แพทย์ผู้ผ่าตัด การตรวจร่างกายจะประเมินความเสี่ยง
  • มีประวัติการเจ็บป่วย กำลังป่วย หรือกำลังใช้ยาชนิดใดอยู่
  • กำลังตั้งครรภ์อยู่หรือไม่
  • หากอายุมากกว่า 35 ปี ควรตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ เช็คความแข็งแรงของหัวใจ
  • สูบบุหรี่ ดื่มแอลกอฮอล์หรือไม่ มากน้อยหรือบ่อยเพียงใด

3.png

 

อาการแพ้ยาสลบ

หลังจากได้รับยาสลบแล้วเพียงไม่กี่ชั่วโมง มักจะแสดงความผิดปกติดังนี้

  •  กล้ามเนื้อเกร็งต่อเนื่องโดยไม่คลายตัว
  •  เป็นไข้สูงกว่าปกติ
  •  เหงื่อออก
  •  การหายใจเร็วหอบ
  •  ชีพจรและหัวใจเต้นผิดจังหวะ
  •  ผิวเปลี่ยนเป็นสีเขียวคล้ำ
  •  ปัสสาวะไหลมีปริมาณน้อย ออกมาเป็นสีน้ำตาลเข้ม
  •  โลหิตไหลเวียนช้าหรือมีออกมาจากร่างกาย
  •  ความดันต่ำ
  •  เสียชีวิต

ฉีดยาชากับดมยาสลบ เลือกเทคนิคไหนดี?

      หากจะให้แนะนำ “การดมยาสลบ” คนไข้จะไม่รู้สึกตัวในระหว่างผ่าตัด ไม่ต้องรับรู้ต่อเหตุการณ์ต่าง ๆ ในห้องผ่าตัด ไม่ว่าจะลงมีดกรีดหรือแพทย์ผ่าตัดกับร่างกาย และไม่รู้สึกเจ็บ เหมาะกับศัลยกรรมใหญ่ที่ใช้ระยะเวลาการผ่าตัดและต้องเสียเลือดมาก แต่การ “ฉีดยาชา” จะฉีดเฉพาะจุด เฉพาะบริเวณที่ผ่าตัดซึ่งจะเหมาะกับศัลยกรรมเล็ก เช่น ตา จมูก ปาก สุดท้ายการผ่าตัดเทคนิคไหนปัจจุบันเราสามารถเลือกได้ว่าจะใช้ยาชาหรือยาสลบ ทั้งนี้ต้องได้รับคำแนะนำจากแพทย์พิจารณาว่าควรผ่าตัดด้วยเทคนิคใด

      ภาวะแพ้ยาดมสลบเป็นภาวะที่พบได้น้อยมาก ทั่วโลกมีรายงานการเกิดขึ้นในผู้ใหญ่ คือ 1: 100,000 ราย และ 1 : 30,000 ราย ในเด็ก ส่วนรายงานการพบเจอในประเทศไทย พบได้ประมาณ 1:200,000 ราย หรือ 0.0005% สาเหตุเกิดจากการกลายพันธุ์ของยีน สามารถถ่ายทอดทางพันธุกรรมแบบยีนเด่น จากพ่อแม่สู่รุ่นลูกได้ โดยปกติมักพบในผู้ชายมากกว่าผู้หญิง หากคนในครอบครัวเคยมีประวัติการเจ็บป่วยด้วย ภาวะแพ้ยาสลบ หรือมีประวัติความผิดปรกติระหว่างการผ่าตัดควรแจ้งแพทย์ก่อนทุกครั้ง

4.png

 

ข้อมูลจาก : POBPAD

 

1.png

 

ติดตาม โซเชียลเน็ตเวิร์ก ของเรา

iConsFacebook.png iConsInstagram.png iConsLine.png iConsTwitter.png iConsYouTube.png iConsTikTok.png